Last updated: 26 ส.ค. 2565 | 1047 จำนวนผู้เข้าชม |
งานก่อสร้างประเภทคอนกรีตเสริมเหล็ก คือ คอนกรีตเสริมแรงรูปแบบหนึ่งที่เพิ่มประสิทธิภาพการรับน้ำหนักของโครงสร้างด้วยการใช้เหล็กเข้ามาช่วย ซึ่งนิยมใช้เป็นเหล็กเส้นกลมเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 6-25 มม. หรือเหล็กข้ออ้อยเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-40 มม.
เหล็กเส้นกลม (Round Bar) บางครั้งเราจะได้ยินช่างเรียกกันติดปากว่าเหล็ก RB ผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ฉบับปัจจุบัน มอก.20-2559 ซึ่งเป็นเหล็กเส้นทรงยาวผิวเรียบทำให้แรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคอนกรีตไม่ดี ส่วนมากจะใช้สำหรับเป็นเหล็กเสริมในงานโครงสร้าง อาทิ ปลอกเสา ปลอกคาน ตะแกรงเหล็กสำหรับงานพื้น หรืองานก่อสร้างขนาดเล็ก
เหล็กเส้นข้ออ้อย (Deformed Bar) เป็นเหล็กทรงยาวกลุ่มเหล็กเส้นเช่นเดียวกับเหล็กเส้นกลม เพียงแต่เหล็กข้ออ้อยจะมีพื้นผิวที่มีคีบและบั้งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มแรงยึดเหนี่ยวระหว่างเหล็กกับคนกรีตได้มีมากขึ้น ชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยตามส่วนประกอบของค่าเคมีในเนื้อเหล็กที่แตกต่างกันทำให้สามารถรับแรงดึงที่จุดครากได้ต่างกันตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.24-2559 แบ่งเป็น 3 ชั้นคุณภาพคือ SD30 SD40 SD50
เหล็กรูปพรรณ จัดอยู่ในกลุ่มเหล็กโครงสร้าง ประกอบด้วย เหล็กกล่อง เหล็กท่อ เหล็กตัวซี นิยมใช้ในงานโครงสร้างหลังคา หรือเสาค้ำที่รับน้ำหนักไม่มาก ถูกนำมาใช้ทดแทนไม้เนื้อแข็งเนื่องจากราคาไม่สูง หาซื้อได้ง่าย และใช้เวลาในการก่อสร้างน้อย อย่างไรก็ตามหากงานโครงสร้างที่ต้องใช้เหล็กรูปพรรณ สิ่งที่ต้องคำนึงคือการเชื่อมเหล็ก หากช่างเชื่อมไม่ดี ไม่สนิท อาจทำให้อายุการใช้งานน้อยลง หรือโครงสร้างอาจไม่แข็งแรงเท่าที่ควร
ดังนั้น ไม่ว่าจะโครงการเล็กหรือใหญ่ การเลือกใช้เหล็กนับเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าของโครงการควรคำนึงถึงเป็นสิ่งแรก เพราะเหล็กเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังที่ทำหน้าที่พยุงบ้าน อาคาร ฯลฯ ให้มีความมั่นคงแข็งแรง มีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และควรเลือกเหล็กให้ถูกประเภทของการใช้งาน ควรสังเกตสัญลักษณ์ มอก. และชื่อผู้ผลิตที่เป็นตัวบ่งชี้ว่าเหล็กที่เลือกได้รับมาตรฐาน
17 ก.ค. 2567
2 ส.ค. 2567
2 ส.ค. 2567